Tag: ภาพยนตร์ของพิกซาร์

หวาน-ขม-คม-ซึ้ง ในโลก 'พิกซาร์' ตักสิลาแห่งแอนิเมชัน

หากจะพูดถึงเรื่องราวและสืบสาวเล่าความไปถึงวงการภาพยนตร์แอนิเมชัน หลายคนคงนึกไปถึงหนังการ์ตูนหรือตัวการ์ตูนขึ้นมา ซึ่งจริงอยู่ที่จะนึกเช่นนั้น แล้วเจ้าแอนิเมชันมันคืออะไรกัน?? แอนิเมชันก็คือภาพยนตร์ที่สร้างสรรค์ลายเส้นให้เกิดมีชีวิตขึ้นมา เคลื่อนไหวและมีความรู้สึกได้ ถ้าเราจะมองอีกมุมหนึ่งน่าจะเรียกว่าเป็นศิลปะที่มีชีวิตได้อยู่เหมือนกัน และถ้านึกถึงค่ายหนังแอนิเมชันที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกขึ้นมาแล้วล่ะก็ คงหนีไม่พ้นที่จะต้องพูดถึง “พิกซาร์” ค่ายหนังชื่อดังที่รังสรรค์ผลงานคุณภาพออกมาให้เราได้ดูกันอย่างคับคั่ง ซึ่งถ้าเราเอ่ยชื่อหนังไปใครต่อใครต้องบอกเป็นเสียงเดียวกันว่ารู้จักหรือเคยดูอย่างแน่นอน ซึ่งล่าสุด พิกซาร์ก็ได้สร้างภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องหนึ่งที่ตอนนี้ตบเท้าเข้าโรงเป็นที่เรียบร้อยแล้วอย่าง MONSTER UNIVERSITY เปิดบ้าน 'พิกซาร์' ชายคาแห่งความสร้างสรรค์ กว่าจะมาเป็นบ้านหลังใหญ่แห่งแอนิเมชันที่มีความคิดสร้างสรรค์และไอเดียบรรเจิดเป็นเสาหลัก ผนวกกับความแม่นยำในการใช้สอยเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ พิกซาร์ก็เหมือนกับชีวิตคนหนึ่งคนซึ่งต้องมีช่วงเวลา “ผ่านเกิด” ซึ่งเมื่อดูตามสูติบัตร เราจะพบว่า ในปี ค.ศ.1979ที่แผนกนี้ได้ถือกำเนิดขึ้นมา ตอนนั้นมีลักษณะเป็นแค่ทีมหนึ่งของ Lucus Films หรือทีมที่คอยวิจัยและพัฒนาเรื่องของ animation graphics ต่อมา สตีฟ จอบส์ จึงได้ร่วมกับเอ็ดวิน แคทมัลล์ ก่อตั้งพิกซาร์ขึ้น เพื่อสร้างเป็นสตูดิโอภาพยนตร์แอนิเมชันด้วยคอมพิวเตอร์ โดยตอนนั้น จอบส์ต้องควักกระเป๋าเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนเงิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ และถือหุ้น 70% ของบริษัท โดย 5ล้านเหรียญแรกเป็นของจอร์จ ลูคัส (ผู้กำกับภาพยนตร์และผู้เขียนบทภาพยนตร์ชื่อดัง) ส่วนอีก 5ล้านเหรียญหลังนั้นก็ได้มอบให้แผนกกลายเป็นบริษัทอิสระ ซึ่งชื่อบริษัทที่ตั้งขึ้นภายใต้ชื่อว่า พิกซาร์ IMAGE COMPUTER (มาจากชื่อของฮาร์ดแวร์ชิ้นสำคัญที่สุดของแผนก) ปัจจุบันจึงได้กลายมาเป็นบริษัทที่โด่งดังและเติบโตแบบก้าวกระโดดในฐานะผู้สร้างหนังการ์ตูนแอนิเมชันแบบดิจิตอล อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ของทั้งสองบริษัทนี้ไม่ได้ราบรื่นหรือสวยสดงดงามสักเพียงใดนัก เพราะเมื่อพิกซาร์ กับวอลต์ดีสนีย์เริ่มต้นขึ้นไม่นาน บริษัทพิกซาร์มีวี่แววว่ากำลังไปได้สวย แต่ดิสนีย์กลับตกต่ำและย่ำแย่ลง สตีฟ จอบส์ จึงตกลงเจรจาทำหนังให้ 5 เรื่อง แล้วให้แบ่งปันผลกำไรกันครึ่งหนึ่ง แต่การเจรจานั้นไม่เป็นผลทำให้เกิดการแตกหักขึ้นมาส่งผลทำให้พิกซาร์ไม่ทำภาพยนตร์ให้กับดิสนีย์อีกต่อไป แต่ท้ายที่สุดแล้ว บริษัท เดอะวอลต์ดิสนีย์ ก็ได้เข้าซื้อกิจการของพิกซาร์โดยให้ตัวเงินที่มีมูลค่าสูงถึง 7.4 พันล้าน ก้าวแรกของพิกซาร์ ก้าวสำคัญของการ์ตูน ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างยิ่งกับการเปิดตัวภาพยนตร์เรื่องแรก Toy Story ซึ่งเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องยาวที่แปลกแหวกแนวจากภาพยนตร์อื่นๆ ที่เคยมีมา ซึ่งจากคำบอกเล่าของจอร์น แลสสิเตอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายสร้างสรรค์ของสตูดิโอพิกซาร์ ได้เล่าถึงไอเดียภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องแรกของพิกซาร์ไว้ในนิตยสาร FILMAX ว่า “เรานั่งลิสต์ว่าไม่อยากให้หนังของเรามีอะไรบ้าง เราไม่อยากให้มันเป็นหนังเพลง ไม่อยากให้มีพระเอกผู้ร้าย หรือผู้ช่วย เพราะมันเป็นแนวของดิสนีย์ เราเลยมองหาหนังแนวอื่น จนมาลงตัวที่หนังคู่หู ของเล่นเก่าๆ ที่เด็กๆ เคยชอบ กับของเล่นใหม่แกะกล่อง ที่ก้าวมาเป็นของโปรดของเด็กๆ แทน ทีนี้พวกของเล่นเก่าๆ จะทำยังไงดีล่ะ นี่ล่ะคือแก่นของ Toy Story” ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวได้ลบล้างความคิดแบบเดิมๆ ไปโดยปริยาย เนื่องจากว่าเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่ไม่มีเพลง ไม่มีสัตว์คู่หูคู่ฮา แต่ทว่าสามารถทำเงินได้มหาศาล และหลังจากนั้นทางค่ายพิกซาร์ก็ได้ผลิตภาพยนตร์ที่ชนะรางวัลประกวดหลายเรื่องมากมาย ไม่ว่าจะเป็น A BUG' s LIFE ตัวบั๊กส์ หัวใจไม่บั๊กส์ ในปี ค.ศ. 1998 Toy Story 2 ในปี ค.ศ.1999 MONSTERS, INC.บริษัทรับจ้างหลอน(ไม่)จำกัด ในปีค.ศ. 2001FINDING NEMOนีโม่…ปลาเล็กหัวใจโต๊…โต ในปีค.ศ. 2003และ THE INCREDIBLES รวมเหล่ายอดคนพิทักษ์โลก ในปีค.ศ.2004ฯลฯ เอกลักษณ์ชูโรง สุนทรียะแห่งศิลปะผนึกเทคโนโลยี จากภาพยนตร์เรื่องแรกเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน หลายคนคงพอทราบและจับจุดได้ว่าความเป็นพิกซาร์นั้นต้องมีกลิ่นอายของความเป็นแอนิเมชันซึ่งจะว่าไปแล้วนั้นภาพยนตร์แอนิเมชันของพิกซาร์ไม่จำเป็นต้องใช้นักแสดงที่เป็นมนุษย์เข้ามาแสดงจริง ไม่ต้องพึ่งพาสถานที่ถ่ายทำจริง ไม่ต้องพึ่งฝ่ายคอสตูมจัดหาเสื้อผ้า ไม่ต้องพึ่งช่างแต่งหน้าทำผม หากแต่สิ่งที่ทำทั้งหมดคือการสร้างสรรค์ผลงานจากนวัตกรรมของโลกยุคดิจิตอลmเหล่านี้ถูกรังสรรค์ออกมาด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตามวิถีทางของพิกซาร์ แอนนิเมชันจึงกลายเป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี ศิลปะ และความคิดสร้างสรรค์ลงไป ซึ่งจุดเด่นจึงอยู่ที่ความแปลกใหม่ การดำเนินเนื้อเรื่อง ความงดงามของภาพ สีสัน และเสียงประกอบที่ทำให้ทุกคนตราตรึงและผ่อนคลายไปกับภาพที่ถูกสร้างขึ้นมาตรงหน้าแม้ว่าจะเป็นเพียงสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาก็ตาม ฟากฝ่ายของคนดู ผู้ที่ได้รับชมส่วนใหญ่มักพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สิ่งที่พิกซาร์นำเสนออยู่นั้น ไม่ได้เป็นแค่เพียงตัวการ์ตูน หากแต่มีเรื่องราวเข้ามาสอดแทรกในตัวการ์ตูนและทำให้เกิดแง่คิดและสามารถจดจำภาพของตัวการ์ตูนนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี สตีฟ จ็อปส์ ไป แต่พิกซาร์ยังอยู่ กลายเป็นข่าวโด่งดังและครึกโครมไปทั่วโลกเมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Apple ต้องสูญเสียบุคคลสำคัญแห่งวงการไอที นั่นก็คือ สตีฟ จอบส์ ไปอย่างไม่มีวันหวนย้อนกลับคืน แต่ทว่าหากใครได้เช็คประวัติเขาแล้วล่ะก็ จะรู้ดีว่าเขานั้นก็มีความสำคัญต่อวงการบันเทิงอยู่ไม่น้อย เพราะเขาเป็นบุคคลที่สำคัญคนหนึ่งของค่ายหนังแอนนิเมชั่นชื่อดัง อย่าง พิกซาร์ อีกด้วยเช่นกัน ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้ทำให้จอห์น แลสสิเตอร์ ผู้กำกับ Toy Story และหัวหน้าฝ่ายสร้างสรรค์ของพิกซาร์ อนิเมชั่น สูติดิโอ ที่ร่วมงานกับสตีฟ จอบส์ มาตั้งแต่แรก เผยถึงเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่า (อ้างอิงจากJediyuth) สตีฟ จ็อบส์ เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่โดดเด่นเป็นพิเศษ เป็นเพื่อนรักของเรา และเป็นแสงส่องนำทางให้ครอบครัวพิกซาร์ เขาเห็นศักยภาพว่าพิกซาร์จะกลายเป็นอะไรได้ก่อนเราทั้งหมด และเกินกว่าที่ใครจะจินตนาการเห็น เขายอมมาเสี่ยงกับเรา และเชื่อในความฝันบ้าๆ ของเราที่จะสร้างภาพยนตร์แอนิเมชันจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งคำพูดเดียวที่เขาพูดเสมอก็คือ 'สร้างมันให้ยอด' เขาคือเหตุผลที่พิกซาร์กลายเป็นเช่นทุกวันนี้ และความเข้มแข็ง ความซื่อสัตย์ และความรักในชีวิตของเขา ทำให้เราเป็นคนที่ดีขึ้น เขาจะเป็นส่วนหนึ่งในดีเอ็นเอของพิกซาร์ตลอดไป เราขอเป็นกำลังใจให้ลอเรน ภรรยาของเขา และลูกๆ ในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ อย่างไรก็ตาม แม้วันนี้พิกซาร์จะไร้เงาสตีฟ จอบส์ แต่สิ่งหนึ่งซึ่งค่ายหนังชื่อดังแห่งนี้ควรต้องทำต่อคือ ดำเนินและสร้างสรรค์ผลงานให้แฟนๆ ภาพยนตร์แอนิเมชันได้ดูกันต่อไป ส่วนพิกซาร์ ในวันที่ไร้สตีฟ จอบส์ จะเป็นเช่นไร คงหาคำตอบได้เองจากรายได้ของ Brave ที่ผ่านมา และ MONSTER UNIVERSITY ที่เข้าฉายแล้ววันนี้

0 Shares

user's Blog!

49/1 ชั้น 4 อาคารบ้านเจ้าพระยา ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

49/1 4th floor, Phra-A-Thit Road, Chanasongkhram,Phanakorn Bangkok 10200

Tel. 02 629 2211 #2256 #2226

Email : mars.magazine@gmail.com

FOLLOW US ON

SUBSCRIBE